โพสต์โดย : superinvited
IP Address : 184.22.20.163
MMI Asia องค์กรที่เชี่ยวชาญการจัดงานการประชุมและแสดงสินค้าระดับโลกจากเยอรมนี จัดงาน Glasstech & Fenestration Asia 2023 ซึ่งเป็นที่สุดแห่งงานการประชุมและแสดงสินค้าที่รวบรวมองค์กรผู้ผลิตกระจกอาคารแบบครบวงจรที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา
โดยงาน Glasstech & Fenestration Asia 2023 เป็นนิทรรศการที่นำเสนอสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการและสมาคมอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีกระจกและผนังส่วนหน้าอาคาร (Façade) ระดับโลก ที่ตัวแทนองค์กรการค้าและภาคอุตสาหกรรมจากทั่วโลกจะมาพบปะกันในบรรยากาศที่เอื้อต่อการเจรจาธุรกิจ และผู้เข้าร่วมงานยังจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม รวมถึงโซลูชันด้านสถาปัตยกรรม เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าและตอบสนองความต้องการในอนาคตของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีกระจกและ Façade ซึ่งได้มีตัวแทนชั้นนำระดับประเทศและระดับโลกตกลงเข้ามาร่วมงานนี้กว่า 200 ราย บนพื้นที่จัดงานกว่า 8,000 ตารางเมตร ผ่านการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (ทีเส็บ), ผู้ประกอบการชั้นนำจากประเทศสิงคโปร์, Singapore Pavilion และ Enterprise Singapore หน่วยงานของรัฐบาลสิงคโปร์ที่สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสิงคโปร์
ไมเคิล วิลตัน CEO และกรรมการผู้จัดการ MMI Asia Pte Ltd กล่าวถึงการจัดงาน Glasstech & Fenestration Asia 2023 ในประเทศไทยว่า “ประเทศไทยเป็นสถานที่ที่ยอดเยี่ยมสำหรับจัดงาน Glasstech and Fenestration Asia 2023 ในครั้งนี้ และสิ่งที่เราได้เรียนรู้หลังการระบาดของโควิด-19 คือ ธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการกลับมาเจรจาธุรกิจแบบเจอหน้ากัน แบบตัวต่อตัว โดยเฉพาะในงานนิทรรศการแสดงสินค้าบนสถานที่จริงอีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับอุตสาหกรรมกระจกและ façade ในไทยนั้นมีอัตราการเติบโตสูงมาก ดังนั้น สำหรับผมในฐานะตัวแทนของ MMI Asia ประเทศไทยจึงมีความน่าสนใจในการจัดงานประชุมและนิทรรศการอย่างยิ่ง”
สำหรับทิศทางของอุตสาหกรรมกระจกและ façade ในประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ต่างให้ข้อมูลที่ตรงกันว่าจะมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น หลังจากซบเซามาในช่วงการระบาดของโควิด-19 วิรัตน์ ลี้ไวโรจน์ นายกสมาคมธุรกิจอุตสาหกรรมกระจกไทย กล่าวว่า “การระบาดของโควิดและภาวะสงครามทําให้อุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมกระจกชะลอตัว แต่ก็คาดว่าปีหน้านี้น่าจะดีขึ้นตามการคาดการณ์ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลด้วยว่าจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้อย่างไรบ้าง” ทางด้านวิชัย วิรัตกพันธ์ กรรมการและเลขานุการ ผู้ตรวจการธนาคารและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมกระจกจะมีการขยายตัวเป็นไปตามทิศทางของอสังหาริมทรัพย์ เพราะหากอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโต อุตสาหกรรมกระจกและ façade ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันมักจะเติบโตแปรผันตาม โดยในปี 2567 คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะขยายตัวประมาณ 5-10% ดังนั้นผมคิดว่าอุตสาหกรรมกระจกก็น่าจะขยายตัวไปในทิศทางเดียวกัน” นอกจากนี้ คุณวิรัตน์ยังกล่าวเสริมถึงเทคโนโลยีกระจกที่น่าสนใจว่า “เมื่อก่อนเราใช้กระจกเฉพาะในงานหน้าต่างกับประตู แต่ช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ เริ่มมีการใช้ผนังกระจก (Curtain Wall) ในตึกสูงใจกลางเมือง ซึ่งผนังกระจกนี้ นอกจากจะมีคุณสมบัติกันลมและกันฝนแล้ว ยังสะท้อนความร้อนอีกด้วย ซึ่งนวัตกรรมใหม่ในการผลิตกระจกเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Low Emission Glass ก็คือเอากระจกธรรมดามาเคลือบสารโลหะเข้าไป ส่งผลให้มีการสะท้อนความร้อนออก แต่ยังให้แสงเข้ามาในตึกได้ ส่งผลให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น เพราะว่าการที่ตึกมี Curtain Wall นั่นหมายความว่าความร้อนจะเข้ามาในตึกได้น้อยลง ลดค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องปรับอากาศได้ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อีกทาง ล่าสุดก็ยังมีนวัตกรรมใหม่ที่กระจกสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และเริ่มติดตั้งใช้งานบ้างแล้วในญี่ปุ่นและบางประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ และน่าทดลองนำมาปรับใช้กับประเทศไทย”
ด้านการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและสมาคมต่างๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศนั้นมีการสนับสนุนในอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างดี ไพทยา บัญชากิติคุณ อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงการจัดงาน Glasstech & Fenestration Asia 2023 ครั้งนี้ว่า “ผมคิดว่า งาน Glasstech & Fenestration Asia 2023 เป็นงานที่รวบรวมกลุ่มผู้ผลิตทั้งตัวอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ ที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับงานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นกระจกและผนังส่วนหน้าอาคารในประเทศไทย ซึ่งการจัดงานนี้จะส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเติบโตขึ้นได้ในอนาคต” สำหรับด้านอุตสาหกรรมไมซ์ ดร.ดวงเด็ด ย้วยความดี ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า "ในปี พ.ศ. 2566 จำนวนนักเดินทางต่างชาติจากงานแสดงสินค้า จำนวน 269,439 คน สร้างรายได้เข้าประเทศจากการใช้จ่าย มูลค่า 17,783 ล้านบาท คิดเป็น 168% ของเป้าหมายที่ 160,000 คน สำหรับงาน Glasstech & Fenestration Asia 2023 ครั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้จัดงานอย่าง MMI Asia นั้นช่วยส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในฐานะที่เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของ MICE Industry และเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพแห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับนักเดินทางไมซ์เชิงคุณภาพได้ นอกจากนี้การจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทยจะช่วยให้อุตสาหกรรมไมซ์ทั้ง ecosystem เติบโต เกิดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่จะไปสู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ไม่เพียงเท่านั้น คุณ Gan Pay Yap ประธานสมาคมกระจกแห่งสิงคโปร์ กล่าวถึงธุรกิจอุตสาหกรรมกระจกระหว่างไทยกับสิงคโปร์ว่า "สิงคโปร์และไทยต่างก็เป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน จึงมีข้อตกลงด้านการค้าเสรีเกิดขึ้นมากมาย ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตกระจกรายใหญ่ มีโรงงานหลายแห่ง ในขณะที่สิงคโปร์เองก็มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกระจกและ façade มากมาย เช่น การให้คำปรึกษาด้านการตกแต่งอาคารในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ จึงมีสินค้าและบริการเกิดขึ้นมากมายระหว่างกัน ในอนาคตผมหวังว่าจะมีการบูรณาการกันมากขึ้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมกระจกและ façade ในภูมิภาคนี้ เพื่อขยายมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เติบโตยิ่งขึ้นไป"
นับได้ว่างาน Glasstech & Fenestration Asia 2023 ครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เกิดการเจรจาธุรกิจที่ทำให้อุตสาหกรรมกระจกและ façade และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องมีความเคลื่อนไหวในทางที่ดี และส่งผลให้มีแนวโน้มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://fenestrationasia.com/ และ https://glasstechasia.com.sg/ หรือที่เฟซบุ๊ก www.facebook.com/glasstechasia และ LinkedIn https://www.linkedin.com/company/glasstech-asia-fenestration-asia
รางวัลที่ 1 | 2 ตัว | เลขท้าย 3 ตัว | เลขหน้า 3 ตัว |
---|---|---|---|
807779 | 23 | 448 477 | 961 699 |