โพสต์โดย : ning
IP Address : 49.229.190.255
งานประชุมวิชาการ PMU-B Brainpower Congress 2022 “อนาคตและความท้าทายของการพัฒนางานวิจัยขั้นแนวหน้า
และเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน”
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ขอเชิญนักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลผู้สนใจทั่วไป ร่วมงานประชุมวิชาการ PMU-B Brainpower Congress 2022 “อนาคตและความท้าทายของการพัฒนางานวิจัยขั้นแนวหน้าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2565 ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม (IMPACT Forum) เมืองทองธานี ลงทะเบียนได้ที่ www.brainpowercongress.com
งานประชุมวิชาการนี้จัดขึ้นเพื่อยกระดับและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนากำลังคน ผ่านนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดนักวิจัยคุณภาพสูง พร้อมประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานวิจัยขั้นแนวหน้า และนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยภายในงานมีสิ่งที่น่าสนใจ อาทิ เวทีสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยด้านการพัฒนากำลังคนขั้นแนวหน้า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ การรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย เสนอผลงานวิชาการ การแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีกิจกรรมไฮไลท์ ดังนี้
วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2565
- ทำพิธีเปิดงาน โดย ศ. ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และ ศ. ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) - บรรยายพิเศษ ภายใต้หัวข้อ “นโยบายและแผนการสนับสนุนงานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย” โดย ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
- เวทีเสวนาภายใต้หัวข้อ “Frontiers in Digital Health - Convergence Science and Digitalization for Predictive and Personalized Healthcare” โดย ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ดร.วิศิษฐ ทวีปรังษีพร ผู้บริหารบริษัท Zensorium ประเทศไทย และ Nitto Denko Asia Technical Centre ประเทศสิงคโปร์ ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) และ CEO บริษัท ReLIFE Bioengineering จำกัด
- ปาฐกถา เรื่อง “อนาคตและความท้าทายของการพัฒนางานวิจัยขั้นแนวหน้า และเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน” โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2565
- เวทีเสวนาภายใต้หัวข้อ “การทำงานวิจัยและนวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จ” โดย รศ.ดร.ประสิทธิ์ ทองใบ อาจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เจ้าของรางวัล TRF-CHE-Scopus Young Researcher Awards พ.ศ.2556 ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพในมหาวิทยาลัย และทำโครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart farm) รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีฝ่ายแผน วิจัย กิจการพิเศษ และประกันคุณภาพการศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รางวัลที่ 1 | 2 ตัว | เลขท้าย 3 ตัว | เลขหน้า 3 ตัว |
---|---|---|---|
187221 | 38 | 980 547 | 036 923 |