โพสต์โดย : Tech
IP Address : 49.49.247.97
ในปี 2020 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบไฟล์อันตรายเกิดใหม่เฉลี่ยแล้ววันละ 360,000 ไฟล์ คิดเป็นเพิ่มขึ้น 5.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุน่าจะมาจากการเติบโตขึ้นอย่างมากของโทรจัน (ไฟล์ตัวร้ายที่ก่ออันตรายได้มากมายหลายอย่าง รวมทั้งลบหรือแอบจารกรรมข้อมูลด้วย) และแบ็คดอร์ (โทรจันประเภทหนึ่งที่ผู้ก่อการร้ายสามารถเข้ามายึดควบคุมเครื่องของเหยื่อ) คิดเป็นอัตราเพิ่ม 40.5% และ 23% ตามลำดับ และนี่คือเทรนด์ที่พบในรายงาน Kaspersky Security Bulletin: Statistics of the Year Report
ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์อันตรายเฉลี่ยแล้ว 360,000 ไฟล์ใหม่ทุกวันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมากกว่าปีก่อนหน้านี้ 18,000 ไฟล์ (เพิ่มขึ้น 5.2%) และเพิ่มจากปี 2018 คือ 346,000 ไฟล์ ในบรรดาไฟล์อันตรายเหล่านี้60.2% เป็นโทรจันทั่วไปไม่เจาะจงประเภท และพบว่ามีโทรจันเพิ่มขึ้น 40.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และยังพบแบ็คดอร์เพิ่มขึ้นด้วย รวมทั้งเวิร์ม (โปรแกรมอันตรายที่ทำซ้ำตัวเองบนระบบ) ถูกเขียนด้วยภาษา VisualBasicScript และเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวมัลแวร์ Dinihou
ส่วนไฟล์ที่พบว่าเริ่มลดน้อยลง ได้แก่แอดแวร์ (adware) (โปรแกรมที่กระหน่ำเครื่องด้วยสารพัดโฆษณา) ลดลง 35% เมื่อเทียบกับปี 2019
ไฟล์อันตรายส่วนมาก (89.80%) แพร่ผ่าน Windows PE files - ไฟล์ในฟอร์แมทเฉพาะระบบปฏิบัติการ Windows ขณะเดียวกัน จำนวนมัลแวร์ใหม่ที่เกี่ยวโยงกับระบบปฏิบัติการ Android ลดลง 13.7% จากการที่ตอนนี้ส่วนมากทำงานจากบ้านใช้คอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊กกันเป็นส่วนมาก ผู้ร้ายไซเบอร์จึงเปลี่ยนเป้าหมายมายังเครื่องเหล่านี้มากขึ้น พบสคริปต์ใหม่เพิ่ม 27% ส่งแฝงมากับอีเมลหรือผ่านทางเว็บไซต์ที่ติดเชื้อ ซึ่งอาจจะสะท้อนความเป็นไปของการใช้เวลามากขึ้นบนอินเทอร์เน็ต และผู้ร้ายพยายามที่จะหาทางเอาประโยชน์จากจุดนี้
นายเดนิส สตาฟอร์กิ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ช่วงปีที่ผ่านมานั้นระบบตรวจจับของเราพบออปเจ็กต์อันตรายเพิ่มขึ้นจากปี 2019 มากมายนัก จากการะแพร่ระบาดของโรค ผู้ใช้จากทั่วโลกใช้เวลาไปกับอุปกรณ์ต่างๆ ในโลกออนไลน์มากขึ้น เป็นเรื่องยากที่จะเจาะจงว่า ผู้ร้ายปฏิบัติการกันมากขึ้น หรือโซลูชั่นของเราตรวจจับไฟล์อันตรายได้มากขึ้นตามขนาดและจำนวนของกิจกรรม หรืออาจจะทั้งสองสาเหตุก็เป็นได้ ไม่ว่าจะอย่างไร อัตราการเพิ่มจำนวนของไฟล์อันตรายก็มากจนต้องจับตามองกันทีเดียวในปีนี้ และส่อเค้าว่าจะเป็นเช่นนี้เข้าสู่ปี 2021 ต่อไป เพราะเราส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องทำงานจากบ้าน ท่ามกลางมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดต่างๆ กันในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ดี ถ้าเรารู้และปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยเบื้องต้น จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้อย่างมากเลยทีเดียว”
แคสเปอร์สกี้มีคำแนะนำเพื่อความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
- ใส่ใจกับการเปิดไฟล์ หรืออย่าเปิดไฟล์ที่น่าสงสัย หรือไฟล์แนบที่ส่งมาแบบไม่รู้แหล่งที่มา ตรวจสอบความถูกต้องของ URL ชื่อบริษัท ตัวสะกด ก่อนดาวน์โหลด เว็บไซต์ปลอมก็อาจจะดูเหมือนของจริงเอามากๆ แต่ก็จะมีจุดบอดให้จับได้ถ้าเราช่างสังเกตุพอ
- อย่าดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจมาลงบนเครื่อง
- อย่าคลิกลิ้งก์ที่ไม่รู้ที่มา หรือแอดโฆษณาออนไลน์ที่น่าสงสัย
- สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่งและมีความเฉพาะตัว และควรมีอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และใช้การตรวจสอบความถูกต้องแบบ two-factor authentication
- หมั่นลงอัพเดทอย่างสม่ำเสมอ บางตัวอาจแก้ไขช่องโหว่เรื่องความปลอดภัยมาแล้ว
- ไม่ต้องไปสนใจข้อความที่ขึ้นมาให้ปลดระบบความปลอดภัยของออฟฟิศซอฟต์แวร์หรือแอนตี้ไวรัสซอฟต์แวร์
- ติดตั้งโซลูชั่นความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง เสถียรเหมาะสมกับระบบงานและอุปกรณ์ใช้งาน เช่น Kaspersky Internet Security หรือ Kaspersky Security Cloud เพราะเตือนได้ว่าเว็บไซต์ใดมีอันตราย มีความเสี่ยง ไม่ควรเปิดเข้าไป ลดความเสี่ยงการติดมัลแวร์ลงได้
สามารถดูรายงานสถิติเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ของปีนี้เพิ่มเติมได้ที่ https://securelist.com/kaspersky-security-bulletin-2020-statistics/99804/
รายงานสถิตินี้เป็นส่วนหนึ่งของ Kaspersky Security Bulletin 2020 สามารถศึกษาเพิ่มการคาดการณ์ภัยไซเบอร์ปี 2021 ได้ https://securelist.com/ksb-2020/
รางวัลที่ 1 | 2 ตัว | เลขท้าย 3 ตัว | เลขหน้า 3 ตัว |
---|---|---|---|
187221 | 38 | 980 547 | 036 923 |