เซินเจิ้น, จีน, 31 พ.ค. 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- ภายในปี 2583 คาดว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer หรือ CRC) จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.2 ล้านรายและมีผู้เสียชีวิต 1.6 ล้านรายต่อปี คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 66% และ 71% ในผู้ป่วยใหม่และผู้เสียชีวิตตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2563
เพื่อรับมือภาระมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วโลกให้ดีขึ้นและลดผลกระทบ BGI Genomics จึงได้เปิดตัวรายงานการตระหนักรู้มะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วโลกฉบับที่สอง ซึ่งครอบคลุมผู้ตอบแบบสอบถาม 1,938 รายจากบราซิล (306 คน) จีน (367 คน) โปแลนด์ (300 คน) ซาอุดีอาระเบีย (300 คน) ) ไทย (362) และอุรุกวัย (303):
ช่องว่างการคัดกรองมะเร็งลำไส้ต่างกันไปทั่วโลก: เกือบครึ่งหนึ่ง (49.3%) ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกไม่เคยผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ โดยมีสัดส่วนสูงสุดในซาอุดีอาระเบีย (62.0%) และโปแลนด์ (61.0%)
การเลือกตรวจอุจจาระมากกว่าการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่: แม้ว่าการส่องกล้องตรวจจะได้รับการยอมรับมากกว่า (33.4%) แต่การตรวจอุจจาระที่สถานพยาบาลก็เป็นที่นิยมมากกว่า (31.8%) สะท้อนถึงแนวโน้มไปสู่วิธีการที่ไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย
ค่าใช้จ่ายและความกลัวเป็นตัวกำหนดทางเลือกการตรวจคัดกรอง: ความกลัวการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (18.2%) และค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรอง (17.7%) เป็นอุปสรรคใหญ่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ โปแลนด์ (24.7%) และอุรุกวัย (21.0%) ระบุว่ามีความกลัวการส่องกล้องลำไส้ใหญ่มากที่สุด ในขณะที่ไทย (24.5%) และบราซิล (20%) ระบุว่ากังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมากที่สุด
คำแนะนำทางการแพทย์และประวัติครอบครัวคือปัจจัยผลักดันการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่: คำแนะนำของแพทย์เป็นปัจจัยหลักในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (30.5% ทั่วโลก) โดยอุรุกวัยแสดงการปฏิบัติตามคำแนะนำสูงที่สุด (44.1%) นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความกระตือรือร้นในการตรวจคัดกรองมากกว่า (64.5%) เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป (35.0%)
ศาสตราจารย์วรุตม์ โลหะสิริวัฒน์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอข้อมูลเชิงลึกต่อรายงานฉบับนี้ โดยแนะนำว่า: "สาระสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งที่มีประสิทธิผลอยู่ที่การที่ผู้ป่วยยอมรับและปฏิบัติตามวิธีการตรวจคัดกรอง วิธีการตรวจคัดกรองที่ดีที่สุดคือวิธีที่ผู้ป่วยยอมรับและปฏิบัติตาม เพราะนั่นคือวิธีการที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง"
ดร. Zhu Shida รองผู้จัดการทั่วไปของ BGI Genomics กล่าวว่า "ที่ BGI Genomics เรามุ่งเน้นความพยายามในการพัฒนาเทคนิคการทดสอบอณูชีววิทยาขั้นสูงเพื่อปิดช่องว่าง [ระหว่างการยอมรับและการบริการเข้าถึง] เป้าหมายสูงสุดคือการเปลี่ยนให้มะเร็งลำไส้ใหญ่จากโรคที่อันตรายถึงชีวิตเป็นภาวะที่สามารถจัดการได้ด้วยการตรวจคัดกรองแต่เนิ่น ๆ อย่างแพร่หลายและการผ่าตัด"
สามารถดูการเปรียบเทียบระดับภูมิภาคเพิ่มเติมได้ที่รายงานสถานะการตระหนักรู้โรคมะเร็งลำไส้ประจำปี 2567 ของ BGI Genomics ฉบับเต็ม
ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรายงานฉบับนี้มาจากผลโครงการสำรวจออนไลน์ที่ดำเนินการโดย BGI Genomics โดยสำรวจความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เท่านั้น และไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล
แสดงความคิดเห็น