หัวเว่ยเผยโฉมโซลูชันการกระจายพลังงานอัจฉริยะที่งานประชุมพลังงานโลก ครั้งที่ 26...

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์ x ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - หัวเว่ยเผยโฉมโซลูชันการกระจายพลังงานอัจฉริยะที่งานประชุมพลังงานโลก ครั้งที่ 26

ชอบข่าวนี้?

รอตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์, 25 เมษายน 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- หัวเว่ย (Huawei) ได้นำเสนอโซลูชันการกระจายพลังงานอัจฉริยะหรือไอดีเอส (IDS) สุดล้ำสมัยที่งานประชุมพลังงานโลก (World Energy Congress) ครั้งที่ 26 ในรอตเตอร์ดัม IDS ได้รับการพัฒนาร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศ โดยมุ่งเป้าที่จะแก้ไขปัญหาความท้าทายที่เร่งด่วนที่สุดของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการสูญเสียพลังงานบนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง บริการที่ไม่น่าเชื่อถือ และภาระในการจัดการกับโหลดพลังงานใหม่


Huawei presents its full-scenario solutions for the electric power sector at the 26th World Energy Congress in Rotterdam

บริษัทด้านพลังงานกำลังหันมาใช้โซลูชันดิจิทัลที่ใช้ประโยชน์จากพลังของข้อมูล การเชื่อมต่อ และระบบอัตโนมัติเพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ การแปลงเครือข่ายระบบส่งจ่ายกําลังไฟฟ้าเป็นระบบดิจิทัล ซึ่งมักเรียกกันว่า "ลาส ไมล์" (Last Mile) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการปรับปรุงระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบเดิมให้มีความทันสมัย "ลาส ไมล์" จะช่วยรับประกันการจัดส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังบ้าน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมของผู้บริโภคได้โดยตรง  IDS ของหัวเว่ยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งจ่ายกําลังไฟฟ้า เพิ่มความน่าเชื่อถือของโครงข่ายไฟฟ้า และอำนวยความสะดวกในการบูรณาการเข้ากับแหล่งพลังงานหมุนเวียน

"โซลูชันการกระจายพลังงานอัจฉริยะของหัวเว่ยช่วยให้องค์กรด้านพลังงานเปลี่ยนจากห้องส่งจ่ายกําลังไฟฟ้าดิจิทัลเพียงจุดเดียวให้กลายไปเป็นระบบอัจฉริยะที่ที่รองรับสถาปัตยกรรม พัฒนาได้ เปิดกว้าง และมีความเป็นระบบ โดยระบบนิเวศดิจิทัลแบบเปิดจะช่วยให้เราสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กรได้ถึงในระดับพื้นฐาน พร้อมกับส่งมอบขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรม และข้ามอุตสาหกรรมเพื่อเข้าถึงลูกค้าภายนอกได้" เดวิด ซัน (David Sun) รองประธานของหัวเว่ย และซีอีโอหน่วยธุรกิจการปรับเปลี่ยนระบบพลังงานไฟฟ้าให้เป็นดิจิทัลของหัวเว่ย

สถาปัตยกรรม IDS สร้างขึ้นบนเฟรมเวิร์ก "คลาวด์-ไปป์-เอดจ์-ไปป์-ดีไวซ์" (cloud-pipe-edge-pipe-device) อันโดดเด่น ซึ่งประกอบไปด้วยระบบคลาวด์ส่วนตัวภายในองค์กรที่ใช้เป็นรากฐานดิจิทัล โซลูชันแบบมีใช้และไร้สายสำหรับเครือข่ายแบ็คฮอล (Backhaul) หน่วยประมวลผลเอดจ์ (ECU) แบบครบวงจรเพื่อการบริหารจัดการที่คล่องตัว และการสื่อสารทางสายไฟฟ้าความเร็วสูง (HPLC) รุ่นใหม่บนฝั่งแรงดันไฟฟ้าต่ำ แนวทางที่ครอบคลุมนี้ช่วยให้สามารถทำการสังเกตการณ์แบบวัดค่าได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากขึ้น ลดต้นทุน และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าผ่านการระบุและซ่อมแซมข้อผิดพลาดก่อนที่จะเกิดเหตุไฟฟ้าดับ

โซลูชันดังกล่าวได้ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพในการใช้งานจริง และได้ประสบความสำเร็จในการปรับใช้งานในหลายมณฑลของจีน รวมถึงในมณฑลส่านซี โดยร่วมมือกับบริษัทสเตท กริด ส่านซี อิเล็กทริก พาวเวอร์ (State Grid Shaanxi Electric Power Co., Ltd) และพันธมิตร โดยโซลูชันได้พลิกโฉมการจัดการหม้อแปลงไฟฟ้าส่งกำลังในกว่า 100,000 เขต ทั้งยังช่วยลดระยะเวลาไฟฟ้าดับ และมีอัตราความน่าเชื่อถือของแหล่งจ่ายไฟที่น่าประทับใจ ยิ่งไปกว่านั้น โซลูชันยังได้บูรณาการเข้ากับแหล่งผลิตไฟฟ้าระบบโซลาร์เซลล์สำหรับที่อยู่อาศัยกว่า 50,000 แห่งได้อย่างราบรื่น และช่วยให้สามารถเข้าถึงและบริโภคไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าระบบโซลาร์เซลล์ระดับ 10kV ขนาดใหญ่กว่า 1,000 แห่งได้ถึง 100%

"โซลูชันได้ส่งมอบการตรวจจับเครือข่ายการกระจายพลังงานที่ครอบคลุมและแม่นยำ การบริหารจัดการที่คล่องตัวและได้รับการปรับแต่ง การบริการลูกค้าในเชิงรุกอย่างทันท่วงที ทั้งยังช่วยให้พนักงานของเราทำงานได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย" จาง เกินโจว (Zhang Genzhou) ซีไอโอของสเตท กริด ส่านซี กล่าว (รับชมวิดีโอ: "แนวทางปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จของโซลูชันการกระจายพลังงานอัจฉริยะในสเตท กริด ส่านซี")

โซลูชันดังกล่าวยังส่งผลการทดสอบเบื้องต้นที่เปี่ยมด้วยศักยภาพทั้งในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในพลิกโฉมการกระจายพลังงานในระดับโลก

 


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - หัวเว่ยเผยโฉมโซลูชันการกระจายพลังงานอัจฉริยะที่งานประชุมพลังงานโลก ครั้งที่ 26 https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4397523_TH97523_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์

แสดงความคิดเห็น