เม็กซิโกเดินหน้าโครงการ Tech4Nature เฟส 2 มุ่งอนุรักษ์เสือจากัวร์...

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์ x ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - เม็กซิโกเดินหน้าโครงการ Tech4Nature เฟส 2 มุ่งอนุรักษ์เสือจากัวร์

ชอบข่าวนี้?

เมรีดา, เม็กซิโก, 14 เมษายน 2568 /PRNewswire/ -- ในงานประชุมสุดยอด Tech4Nature ประจำปี 2568 นั้น Huawei, องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และพันธมิตรในพื้นที่ ได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการ Tech4Nature เม็กซิโกในเฟส 2 โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการปกป้องเสือจากัวร์ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Dzilam de Bravo และศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

The official launch of Tech4Nature Mexico Phase 2 at the 2025 Huawei-IUCN Tech4Nature Summit
The official launch of Tech4Nature Mexico Phase 2 at the 2025 Huawei-IUCN Tech4Nature Summit

ในพิธีเปิดตัวโครงการนี้ นอกเหนือจาก Huawei และ IUCN แล้ว ยังได้รับเกียรติจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของเม็กซิโก รัฐบาลรัฐยูกาตัน และพันธมิตรในพื้นที่อย่าง C-Minds เข้าร่วมด้วย

ดร. Marina Robles García รองปลัดฝ่ายความหลากหลายทางชีวภาพและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม สังกัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของเม็กซิโก กล่าวว่า "ในเม็กซิโกนั้น ระบบนิเวศถึง 42% ของประเทศเรากำลังเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมที่เราต้องเร่งแก้ไข โดยต้องติดตามตรวจสอบและฟื้นฟูส่วนต่าง ๆ มากมาย แต่ยังมีความสำคัญมากกว่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังเห็นได้ชัดเจนด้วยความร่วมมือนี้"

โครงการ Tech4Nature สอดคล้องกับแนวคิดริเริ่ม TECH4ALL ของ Huawei และบัญชีรายชื่อสีเขียวของ IUCN โดยเป็นความร่วมมือระดับโลกที่ Huawei และ IUCN ได้ร่วมกันก่อตั้งขึ้นในปี 2563 เพื่อใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีขยายผลสำเร็จในการอนุรักษ์ธรรมชาติ

Joaquín Díaz Mena ผู้ว่าการรัฐยูกาตัน ประเทศเม็กซิโก กล่าวในงานประชุมสุดยอด Tech4Nature ประจำปี 2568 ว่า "วันนี้ พวกเรามาร่วมเฉลิมฉลองวิสัยทัศน์เดียวกัน ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่ตระหนักดีว่า การอนุรักษ์นั้นไม่อาจอาศัยเพียงเจตนาดีหรือนโยบายที่กระจัดกระจายได้อีกต่อไป เราจำเป็นต้องมีทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ชุมชนที่เข้มแข็ง และรัฐบาลที่มีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง"

เสือจากัวร์สูญเสียถิ่นที่อยู่และผืนป่าแตกกระจาย จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของ IUCN เพื่อช่วยอนุรักษ์เสือจากัวร์นั้น เฟสแรกของโครงการนี้ได้มีการติดตั้งเครื่องบันทึกเสียง 60 เครื่อง และกล้องดักถ่ายภาพกว่า 20 ตัวในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Dzilam de Bravo โดยใช้โมเดล AI ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี ทำให้สามารถจดจำเสียงร้องและภาพของสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในเขตอนุรักษ์ได้ นับถึงเดือนเมษายน 2568 ระบบนี้สามารถระบุสายพันธุ์ได้ทั้งหมด 147 ชนิด และยืนยันการมีอยู่ของเสือจากัวร์ 9 ตัวในพื้นที่

สำหรับเฟสสองของโครงการนี้ จะเน้นไปที่การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายตัวของประชากรเสือจากัวร์ และให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปสนับสนุนการตัดสินใจและปรับปรุงการจัดการเขตอนุรักษ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างแนวเชื่อมต่อทางชีวภาพ

งานประชุมสุดยอด Tech4Nature ประจำปี 2568 ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำด้านการอนุรักษ์จากทั่วโลก มาร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าและกลยุทธ์ในการใช้เทคโนโลยีช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติ

"เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังทำให้การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมาก และช่วยให้รัฐบาลและนักอนุรักษ์สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดยิ่งขึ้น" Tao Jingwen กรรมการบริษัทและผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนของ Huawei กล่าว "ผมขอเชิญชวนพันธมิตรของเราให้เข้าร่วมโครงการ Tech4Nature มากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นเครื่องมือสามัญในการอนุรักษ์ระบบนิเวศทั่วโลก"

นอกจากเม็กซิโกแล้ว ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ยังมีการเจาะลึกโครงการ Tech4Nature เฟสสองในบราซิล จีน สเปน เคนยา และตุรกี ซึ่งแสดงให้เห็นบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ด้วย AI ในการนำมาปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของระบบนิเวศต่าง ๆ

"เรานำแรงผลักดันที่เราสร้างมาได้จนถึงตอนนี้มาต่อยอด โดยตั้งตารอคอยความร่วมมือในเฟสสองนี้ด้วยความคาดหวังอย่างยิ่ง โครงการในบทใหม่นี้จะครอบคลุมถึง 6 ประเทศ ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงเพื่อสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ และชุมชนต่าง ๆ" Úrsula Parrilla ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเม็กซิโก อเมริกากลาง และแคริบเบียน (ORMACC) ของ IUCN กล่าว "เรานำเทคโนโลยีมาบูรณาการเข้ากับการอนุรักษ์ในวงกว้าง โดยมีส่วนช่วยให้บรรลุเป้าหมายระดับโลกที่มุ่งเน้นให้ธรรมชาติเป็นหัวใจสำคัญของการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"

โครงการ Tech4Nature เฟสสอง

  • บราซิลจะศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อเกาะมาราฌอ และติดตามปูแสม (mangrove crab) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของระบบนิเวศ
  • จีนใช้โซลูชันดิจิทัลแบบเครือข่ายและการวิเคราะห์ด้วย AI เพื่อติดตามและสนับสนุนการเพิ่มจำนวนไพรเมตที่หายากที่สุดในโลกอย่างชะนีไห่หนาน ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 42 ตัวเท่านั้น
  • สเปนมีเป้าหมายที่จะอนุรักษ์นกอินทรีแถบปีกดำ (Bonelli's eagle) ในอุทยานธรรมชาติ Sant Llorenç del Munt i l'Obac โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของผู้เยี่ยมชมอุทยานต่อความสำเร็จในการขยายพันธุ์ของนกอินทรีพันธุ์นี้
  • เคนยาหวังที่จะยกระดับการเฝ้าระวังในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและแนวปะการังในอุทยานและเขตอนุรักษ์ทางทะเล Kisite-Mpunguti เพื่อช่วยจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เช่น การทำประมงผิดกฎหมาย แรงกดดันจากการท่องเที่ยว และติดตามปลานกแก้ว ซึ่งมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของปะการัง
  • ตุรกีเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ก้าวหน้าระหว่างองค์กร NGO ภาคเอกชน และรัฐบาล เพื่อประเมินการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นไปที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ รวมถึงกวางแฟลโลว์และแพะป่าในพื้นที่นำร่อง 2 แห่ง

ทั้งนี้ การประชุมสุดยอด Tech4Nature ประจำปี 2568 เป็นประจักษ์พยานว่า ความร่วมมือระหว่างภาคเทคโนโลยี องค์กร NGO รัฐบาล สถาบันการศึกษา และชุมชนท้องถิ่น ได้สร้างรูปแบบใหม่ในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

เกี่ยวกับ TECH4ALL

TECH4ALL เป็นโครงการริเริ่มเพื่อความเท่าเทียมทางดิจิทัลและแผนดำเนินงานในระยะยาวของหัวเว่ย โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างความเท่าเทียมและความยั่งยืนในโลกดิจิทัล ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและความร่วมมือเป็นพันธมิตร

เยี่ยมชมเว็บไซต์ TECH4ALL ของหัวเว่ยได้ที่ https://www.huawei.com/en/tech4all 

ติดตามเราทาง X ได้ที่ https://x.com/HUAWEI_TECH4ALL

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Tech4Nature ได้ที่ https://www.huawei.com/en/tech4all/stories/tech4nature-technology-nature-conservation


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - เม็กซิโกเดินหน้าโครงการ Tech4Nature เฟส 2 มุ่งอนุรักษ์เสือจากัวร์ https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4663481_TH63481_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์

แสดงความคิดเห็น