พลังงานสีเขียว อวกาศ และการเกษตร: จีนและบราซิลยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ย...

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์ x ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - พลังงานสีเขียว อวกาศ และการเกษตร: จีนและบราซิลยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

ชอบข่าวนี้?

ปักกิ่ง 18 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ -- บราซิลได้ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม G20 อย่างเป็นทางการเป็นเวลา 1 ปี ในเดือนธันวาคม 2567 ภายใต้คำขวัญ "สร้างโลกที่ยุติธรรมและยั่งยืน" (Building a just world and a sustainable planet) ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของบราซิลและจีนในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีส่วนร่วมในความพยายามระดับโลกเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ

ในตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศได้ยกระดับความร่วมมือในภาพส่วนต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งรวมไปถึงพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีอวกาศ และเกษตรกรรมยั่งยืน โดยทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ

โอกาสสีเขียวสำหรับชุมชนในท้องถิ่น

ฟาร์มพลังงานลม Gameleiras ในรัฐรีโอแกรนด์ดูนอร์ตีทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลได้จัดหาพลังงานหมุนเวียนที่จำเป็นอย่างยิ่งให้กับเมืองฌูเอา กามารา ซึ่งเป็นเมืองที่ประสบปัญหาความแห้งแล้ง

โครงการพลังงานลมใหม่แห่งแรกที่สร้างโดยบริษัทในเครือ State Grid Corporation ของจีนในบราซิลได้เสร็จสิ้นไปในปี 2564 ซึ่งฟาร์มแห่งนี้ได้ผลิตพลังงานถึง 360 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 358,900 ตัน และสร้างงานในท้องถิ่นกว่า 2,000 ตำแหน่ง

โครงการความร่วมมือที่สำคัญอีกโครงการระหว่างจีนและบราซิลก็คือ โครงการพลังงานลมขนาด 180 เมกะวัตต์ในแทงก์โนโว รัฐบาเอียทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย CGN Brazil Energy บริษัทในเครือของ China General Nuclear Power Corporation

โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2566 โดยมีกังหันลม 40 ต้น ซึ่งล้วนผลิตขึ้นในประเทศจีน และมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 180 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 720 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี จ่ายไฟให้ครัวเรือนได้ 430,000 หลังคาเรือน พร้อมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 650,000 ตันต่อปี

Andre Martini หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาของ CGN Brazil Energy ได้ตอกย้ำถึงประโยชน์ของความร่วมมือดังกล่าว โดยระบุว่าความร่วมมือครั้งนี้ช่วยให้บราซิลสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรลมได้มากขึ้น พร้อมกับสร้างงาน และสร้างรายได้จากภาษี อีกทั้งความร่วมมือนี้ยังได้นำเทคโนโลยีขั้นสูงและผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้ของจีนมาสู่ตลาดของบราซิลเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันอีกด้วย

Luis Antonio Paulino ศาสตราจารย์จาก Sao Paulo State University กล่าวว่าความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนนี้จะช่วยให้บราซิลสร้างเครือข่ายการจ่ายไฟฟ้าที่สมดุลมากขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลก

ปกป้องสิ่งแวดล้อมจากอวกาศ

นอกเหนือจากภาคส่วนพลังงานแล้ว จีนและบราซิลยังคงความร่วมมืออันแข็งแกร่งในภาคอวกาศมาเป็นเวลาถึง 36 ปี ซึ่งเริ่มต้นด้วยโครงการ China-Brazil Earth Resources Satellite (CBERS) เมื่อปี 2531

โดยมีการพัฒนาดาวเทียมไปแล้ว 6 ดวง รวมไปถึง CBERS-4 และ CBERS-4A ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการน้ำ การวางผังเมือง และการติดตามภัยพิบัติในบราซิล Clezio Marcos de Nardin ผู้อำนวยการ National Institute for Space Research (INPE) ของบราซิล กล่าว

ดาวเทียมเหล่านี้ยังให้ข้อมูลสำคัญในช่วงที่มีฝนตกหนักและน้ำท่วมรุนแรงในรัฐริโอแกรนด์ดูซูลทางตอนใต้ของบราซิลในเดือนเมษายน ซึ่งช่วยให้ทางการบราซิลสามารถประเมินความเสียหาย และดำเนินการฟื้นฟูได้ Nardin กล่าวเสริม

ความร่วมมือดังกล่าวยังสนับสนุนการติดตามการตัดไม้ทำลายป่าในป่าอเมซอน ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญสำหรับทั้งบราซิลและทั่วโลก ผ่านการให้ข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการอนุรักษ์ป่า

"กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความร่วมมือนี้ช่วยให้รัฐบาลบราซิลสามารถทำการตัดสินใจได้โดยมีข้อมูล ด้วยเหตุนี้เอง ความร่วมมือระหว่างสองประเทศในด้านดาวเทียมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องโลกที่เราทุกคนอาศัยอยู่ร่วมกัน" เขากล่าว

ในเดือนเมษายน 2566 จีนและบราซิลได้ยกระดับความร่วมมือทางอวกาศขึ้นไปอีกขั้นผ่านการลงนามในเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่ โปรโตคอลเสริมสำหรับความร่วมมือในการพัฒนา CBERS-6 และแผนความร่วมมือทางอวกาศระหว่าง China National Space Administration และ Brazilian Space Agency ระหว่างปี 2566 - 2575

ข้อตกลงเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเร่งการพัฒนา CBERS-6 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยของ CBERS-5 และขยายความร่วมมือในการสำรวจดวงจันทร์และอวกาศลึก

Luciana Santos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของบราซิลเชื่อว่า เรดาร์ช่องรับแสงสังเคราะห์ใหม่ของดาวเทียม CBERS-6 จะเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับ พร้อมกับให้การแจ้งเตือน และข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้นในทุกสภาพอากาศ

ซึ่งจะติดตามไฟไหม้ แหล่งน้ำ ภัยธรรมชาติ การขยายตัวของเมือง และการใช้ที่ดิน โดยให้ความสำคัญไปที่การปกป้องระบบนิเวศของบราซิล โดยเฉพาะป่าอเมซอน Santos กล่าว

"โครงการ CBERS มีความสำคัญอย่างยิ่งในการยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่าในอเมซอน" เธอกล่าว "ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างจีนและบราซิลไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อการพัฒนาของทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อโลกอีกด้วย"

การเกษตรแบบยั่งยืน

จีนและบราซิลได้เสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย โดยหนึ่งในตัวอย่างนี้ก็คือ การส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าและการแปลงสภาพ (DCF) ซึ่งเป็นการเพาะปลูกโดยไม่ทำลายป่าหรือพืชพรรณธรรมชาติ

COFCO Corporation (COFCO) ผู้ค้าอาหารระดับชั้นนำของจีนเป็นหัวหอกของความพยายามนี้

ซึ่งได้ดำเนินการติดตามที่ดินในฟาร์มบางแห่งในบราซิลตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา เพื่อระบุความเสี่ยง และจัดทำ "ระบบติดตามถั่วเหลือง" โดยอิงจากข้อมูลที่ซัพพลายเออร์ให้มา ทั้งยังได้ฝึกอบรมเกษตรกรท้องถิ่นเพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตถั่วเหลืองของพวกเขาจะไม่นำไปสู่การตัดไม้ทำลายป่า

เกษตรกรท้องถิ่นที่ได้ร่วมมือกับ COFCO ต่างมีความมุ่งมั่นเพื่อที่จะรักษาความยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งเห็นได้จากแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตร และความสัมพันธ์ระยะยาวกับบริษัท

ตลาดจีนมีบทบาทสำคัญในด้านการค้าการเกษตรระดับโลก และสามารถส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสีเขียวให้กับห่วงโซ่มูลค่าการเกษตรระดับโลกได้อย่างมาก Jack Hurd กรรมการบริหารของ Tropical Forest Alliance จาก World Economic Forum กล่าว

เขายังกล่าวอีกว่า การบริโภคอย่างยั่งยืนและการพัฒนาคุณภาพสูงของอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรมเป็นแนวโน้มที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และหวังว่าบริษัทต่างๆ จะมีส่วนร่วมในโครงการริเริ่มในรูปแบบที่คล้ายคลึงมากขึ้น

https://news.cgtn.com/news/2024-11-17/China-Brazil-deepen-cooperation-on-sustainable-development-1yzIqSPQQEM/p.html


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - พลังงานสีเขียว อวกาศ และการเกษตร: จีนและบราซิลยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4559015_TH59015_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์

แสดงความคิดเห็น