QS เผยการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียประจำปี 2568...

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์ x ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - QS เผยการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียประจำปี 2568

ชอบข่าวนี้?

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย

ลอนดอน, 6 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ -- QS Quacquarelli Symonds เปิดเผยการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียครั้งที่ 16 (QS World University Rankings: Asia) ประกอบด้วยมหาวิทยาลัย 984 แห่งจากระบบอุดมศึกษา 25 ระบบ

มหาวิทยาลัยปักกิ่งยังคงครองอันดับหนึ่ง ขณะที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงรั้งอันดับสอง ตามด้วยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ในอันดับสาม

อินเดียเป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับมากที่สุด โดยมีมหาวิทยาลัย 193 แห่งติดอันดับ ตามด้วยจีนแผ่นดินใหญ่ (135) และญี่ปุ่น (115)

Ben Sowter รองประธานอาวุโสของ QS กล่าวว่า "การจัดอันดับครั้งนี้มีมหาวิทยาลัยในเอเชียจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนให้เห็นถึงระบบนิเวศอุดมศึกษาที่เฟื่องฟูและมีการแข่งขันสูง พร้อมมอบข้อมูลเชิงลึกสำหรับนักศึกษาและผู้กำหนดนโยบาย"

2568

2567

1

1

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

จีน

2

2

มหาวิทยาลัยฮ่องกง

ฮ่องกง SAR

3

3

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

สิงคโปร์

4

4

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง

สิงคโปร์

5

7

มหาวิทยาลัยฟู่ตัน

จีน

6

10

มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง

ฮ่องกง SAR

7

4

มหาวิทยาลัยชิงหวา

จีน

8

6

มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง

จีน

9

8

มหาวิทยาลัยยอนเซ

เกาหลีใต้

10

17

มหาวิทยาลัยซิตี้ฮ่องกง

ฮ่องกง SAR

11

15

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง

ฮ่องกง SAR

12

11

มหาวิทยาลัยมาลายา

มาเลเซีย

13

9

มหาวิทยาลัยเกาหลี

เกาหลีใต้

14

11

มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง

จีน

15

13

สถาบัน KAIST

เกาหลีใต้

16

19

มหาวิทยาลัยซองกยุนกวาน

เกาหลีใต้

17

23

มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกง

ฮ่องกง SAR

18

16

มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล

เกาหลีใต้

19

26

มหาวิทยาลัยฮันยาง

เกาหลีใต้

20

25

มหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย

มาเลเซีย

มุมมองภาพรวม

  • จีนเป็นผู้นำการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเอเชียด้วยมหาวิทยาลัยที่ติด 10 อันดับแรกมากที่สุด โดยมีมหาวิทยาลัยฟู่ตันไต่ขึ้นมาอยู่ใน 5 อันดับแรก
  • อินเดียโดดเด่นในด้านผลผลิตการวิจัย ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดียของกรุงนิวเดลี (IIT Delhi) อยู่อันดับที่ 44 แซงหน้าสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดียบอมเบย์ (IIT Bombay) ซึ่งร่วงลงมาอยู่ในอันดับที่ 48
  • อินโดนีเซียมีการเติบโตสูงสุดด้วยจำนวนมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ 30 แห่ง ขณะที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (Universitas Indonesia) ไต่ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 46
  • เขตบริหารพิเศษฮ่องกงมีอัตราการพัฒนาที่ 45% โดยมีทรัพยากร ผลผลิต และนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้น
  • งานวิจัยของมาเลเซียมีความโดดเด่น โดยมหาวิทยาลัย 32 แห่งจาก 38 แห่งที่เคยอยู่ในอันดับก่อนหน้านี้สามารถไต่อันดับขึ้นในตารางการอ้างอิงต่อบทความ
  • ชื่อเสียงทางวิชาการของฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น โดยมหาวิทยาลัย 15 แห่งจาก 16 แห่งที่ติดอันดับก่อนหน้านี้มีอันดับที่ดีกว่าเดิม ขณะที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (University of the Philippines) ติดอันดับสูงสุดที่อันดับ 86
  • สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย เป็นแหล่งของงานวิจัยที่โดดเด่นโดยมีมหาวิทยาลัย 3 แห่งที่ติด 10 อันดับแรกในด้านการอ้างอิงต่อบทความ
  • มหาวิทยาลัยของเกาหลีใต้ 6 แห่งติด 20 อันดับแรกของภูมิภาค ซึ่งมากกว่าประเทศ/เขตการปกครองอื่นใด
  • ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านงานวิจัย ขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงรั้งอันดับสูงสุดของประเทศในอันดับที่ 47
  • มหาวิทยาลัยโตเกียวซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่นยังคงเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในเอเชียจากนักวิชาการและผู้ว่าจ้างระดับสากล

ระเบียบวิธี

โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/2429773/QS_Quacquarelli_Symonds_Logo.jpg?p=medium600


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - QS เผยการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียประจำปี 2568 https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4548894_TH48894_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์

แสดงความคิดเห็น