กองทุนโอเปกส่งเสริมความร่วมมือระดับโลก ด้วยการตกลงมอบเงินทุนจำนวนมหาศาลในการประช...

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์ x ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - กองทุนโอเปกส่งเสริมความร่วมมือระดับโลก ด้วยการตกลงมอบเงินทุนจำนวนมหาศาลในการประชุมธนาคารโลก ประจำปี 2567

ชอบข่าวนี้?

ไฮไลท์สำคัญ:

  • การตกลงที่จะมอบเงินทุนครั้งใหม่เป็นมูลค่าเกือบครึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐกับเบนิน ภูฏาน โกตดิวัวร์ จอร์แดน โอมาน และธนาคารในอุซเบกิสถาน
  • ความร่วมมือครั้งสำคัญและความตกลงเกี่ยวกับกรอบการทำงานการจัดหาเงินทุนร่วมกันกับกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) โดยมีจุดมุ่งเน้นในการดำเนินงานด้านภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร และโครงสร้างพื้นฐาน
  • ความตกลงร่วมมือครั้งใหม่ที่จะขยายการดำเนินงานและผลกระทบของการพัฒนาในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (LAC)

เวียนนา, 28 ตุลาคม 2567 /PRNewswire/ -- กองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (OPEC Fund for International Development) หรือ กองทุนโอเปก (OPEC Fund) ปิดท้ายการเข้าร่วมในการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (World Bank-IMF Annual Meetings) ปี 2567 ด้วยการตกลงมอบเงินทุนครั้งใหม่ที่ทรงพลัง โดยได้ลงนามในความตกลงกู้ยืมเป็นมูลค่ารวมเกือบครึ่งพันล้านดอลลาร์กับเหล่าประเทศพันธมิตร ความตกลงเหล่านี้ตอกย้ำพันธกิจของกองทุนโอเปกในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาระดับโลก รวมถึงในด้านการตั้งรับปรับตัวทางภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน เกษตรกรรมยั่งยืน และการมอบพลังสนับสนุนทางสังคมและเศรษฐกิจ

OPEC Fund President Alkhalifa led the OPEC Fund delegation attending high - level meetings with Key stakeholders in Washington
OPEC Fund President Alkhalifa led the OPEC Fund delegation attending high - level meetings with Key stakeholders in Washington

ประธานของกองทุนโอเปก Dr. Abdulhamid Alkhalifa กล่าวว่า "การประชุมประจำปีนี้มอบโอกาสอันสำคัญยิ่งให้กองทุนโอเปกได้เชื่อมต่อกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายสำคัญ และปรับการดำเนินความพยายามของเราให้สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาของประเทศพันธมิตร เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการประชุมปีนี้เป็นเวทีที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเสริมสร้างความร่วมมือและส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ด้วยความตกลงมอบเงินทุนครั้งใหม่เหล่านี้ เราดำเนินการอย่างแน่วแน่ในการยกระดับการเชื่อมต่อ เสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวทางเศรษฐกิจ และมอบพลังสนับสนุนชุมชนต่าง ๆ ในบรรดาประเทศพันธมิตรของเรา"

ในก้าวสำคัญเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ระหว่างการประชุม กองทุนโอเปกและกลุ่มธนาคารโลกได้ลงนามในความตกลงกรอบการทำงานการจัดหาทุนร่วมกัน (Co-Financing Framework Agreement หรือ CFA) และบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความตกลงเหล่านี้ ซึ่งลงนามโดยประธานกองทุนโอเปก Dr. Abdulhamid Alkhalifa และประธานธนาคารโลก Ajay Banga คาดว่าจะเพิ่มโอกาสในการจัดหาเงินทุนร่วมกัน ในการนี้ ประธานกองทุนโอเปก คุณ Alkhalifa พร้อมด้วยสมาชิกคณะผู้แทน ได้พบกับรองประธานประจำภูมิภาคแต่ละท่านของธนาคารโลกเพื่อสำรวจลงลึกเกี่ยวประเทศต่าง ๆ และการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงาน

การให้เงินกู้ครั้งใหม่ของกองทุนโอเปกในประเทศพันธมิตร มีดังต่อไปนี้

  • เบนิน: เงินกู้ 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการสนับสนุนการพัฒนาพืชกรรมสวน (Horticulture Development Support Project หรือ PADMAR-E) ซึ่งมุ่งยกระดับความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มรายได้ของเกษตรกรพืชสวนรายย่อย
  • ภูฏาน: เงินกู้ 50 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำสองแห่ง ซึ่งมุ่งยกระดับความมั่นคงทางพลังงานและการผลิตพลังงานหมุนเวียนของภูฏาน
  • โกตดิวัวร์: เงินกู้ตามแผนงาน (Program-Based Loan หรือ PBL) 60 ล้านยูโร เพื่อปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในภาคคมนาคมขนส่งและภาคพลังงานของประเทศ
  • จอร์แดน: เงินกู้ตามแผนงาน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนโครงการทุนมนุษย์ของจอร์แดน (Jordan Human Capital Program) ซึ่งมุ่งยกระดับและรักษาทุนมนุษย์
  • โอมาน: เงินกู้ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นก้อนแรกของเงินทุน 392 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงการสร้างถนน Khasab-Daba-Lima เพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อในภูมิภาค
  • ธนาคาร SQB ของอุซเบกิสถาน: เงินกู้ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ธนาคาร Sanoat Qurilish Bank (SQB) เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง ตลอดจนภาคเกษตรกรรมในอุซเบกิสถาน

กองทุนโอเปกยังได้ลงนามในความตกลงร่วมมือหลายรายการเพื่อขยายความร่วมมือกับสถาบันพันธมิตร อย่างเช่น Fonplata และ CAF ตลอดจนส่งเสริมความพยายามด้านการพัฒนาในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน

เกี่ยวกับกองทุนโอเปก

กองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (OPEC Fund for International Development) หรือกองทุนโอเปก (OPEC Fund) เป็นสถาบันการพัฒนาระดับโลกเพียงแห่งเดียวที่จัดหาเงินทุนจากประเทศสมาชิกให้แก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกโดยเฉพาะ องค์กรทำงานร่วมกับพันธมิตรประเทศกำลังพัฒนาและชุมชนการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางทั่วโลก กองทุนโอเปกก่อตั้งเมื่อปี 2519 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนการพัฒนา ส่งเสริมความแข็งแกร่งของชุมชน และมอบพลังสนับสนุนผู้คน งานของเรามุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยให้ความสำคัญกับการจัดหาเงินทุนที่รองรับความต้องการที่จำเป็น อย่างเช่น อาหาร พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน การจ้างงาน (โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย หรือ MSME) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล การดูแลสุขภาพ และการศึกษา จนถึงปัจจุบัน กองทุนโอเปกได้มอบเงินทุน 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โครงการพัฒนาในมากกว่า 125 ประเทศ โดยมีมูลค่าโครงการรวมราว 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ Fitch ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุนโอเปกอยู่ที่ระดับ AA+ โดยมีมุมมองความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับมีเสถียรภาพ และ S&P ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุนโอเปกอยู่ที่ระดับ AA+ โดยมีมุมมองความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างโลกที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนกลายเป็นความจริงสำหรับทุกคน

สื่อมวลชนสัมพันธ์:
Basak Pamir
โทร: +43151564174
อีเมล: B.Pamir@opecfund.org 

รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/2542090/OPEC_Fund_for_International_Development.jpg?p=medium600
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/2542091/OPEC_Fund_for_International_Development.jpg?p=medium600
โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1899865/4992640/OPEC_Fund_Logo.jpg?p=medium600

OPEC Fund President Abdulhamid Alkhalifa and World Bank President Ajay Banga
OPEC Fund President Abdulhamid Alkhalifa and World Bank President Ajay Banga

 

 


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - กองทุนโอเปกส่งเสริมความร่วมมือระดับโลก ด้วยการตกลงมอบเงินทุนจำนวนมหาศาลในการประชุมธนาคารโลก ประจำปี 2567 https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4541782_TH41782_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์

แสดงความคิดเห็น